วิธีปฏิบัติต่อคนตาบอด: รู้เขารู้เรา เขาแฮปปี้เราแฮปปี้

คุณอาจสังเกตว่าในโลกยุคปัจจุบัน คุณมีโอกาสใช้ชีวิตประจำวันร่วมกันกับคนพิการมากขึ้น เนื่องจากมุมมองต่อคนพิการเปลี่ยนไป อีกทั้งสิ่งแวดล้อมยังออกแบบให้เอื้อต่อกายภาพของทุกคนมากขึ้น ดังนั้น การปฏิบัติตัวต่อคนพิการซึ่งอาจเป็นเรื่องไม่คุ้นเคยสำหรับใครหลายคนจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ควรรู้ คนตาบอดเป็นคนพิการกลุ่มหนึ่งที่ต้องได้รับความใส่ใจเป็นพิเศษเมื่อใช้ชีวิตร่วมกับคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจมีคำถามในใจว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะไม่ 'มาก’ หรือ ‘น้อย’ เกินไป ต่อไปนี้เป็นหลักปฏิบัติพื้นฐานง่ายๆ เมื่อคุณต้องมีปฏิสัมพันธ์หรือใช้ชีวิตร่วมกับคนตาบอด  

  1. ตาบอด ใจไม่บอด คุณควรปฏิบัติต่อคนตาบอดเหมือนบุคคลทั่วไป การมองไม่เห็นเป็นเพียงความพิการทางกาย ส่วนความรู้สึกนึกคิด ความสนใจใคร่รู้ ความต้องการแสดงความคิดเห็น ฯลฯ ยังคงเหมือนคนทั่วไป ดังนั้น จึงไม่ควรมีท่าทีห่วงใยมากจนเกินไปหรือปฏิบัติตัวแปลกไปจากที่กระทำต่อคนทั่วไป
  2. ไม่ต้องเกรงใจ คนตาบอดสามารถดูแลและให้บริการคุณในเรื่องต่างๆ ได้เช่นเดียวกับที่คุณมีน้ำใจต่อเขา ดังนั้น คุณไม่จำเป็นต้องเกรงใจคนตาบอดเมื่อเขาเสนอให้ความช่วยเหลือแก่คุณ หากแต่ควรให้โอกาสในการแสดงออกแก่เขา นอกจากคุณมีเหตุขัดข้องสุดวิสัยจริงๆ 
  3. มองไม่เห็น แต่ใช่ว่าจะชอบอยู่มืดๆ แม้คนตาบอดจะมองไม่เห็น แต่บางคนไม่ชอบอยู่ในห้องที่ไม่มีแสง ดังนั้น หากเขาถามหาสวิตช์เพื่อเปิดไฟขอจงอย่าแปลกใจ
  4. ประตู ไม่เปิดก็ปิด ไม่ควรเปิดประตูค้างไว้ในสถานที่ที่มีคนตาบอดอยู่ แต่ควรปิดหรือเปิดกว้างจนชิดฝาผนังไปเลย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้เขาเดินชน

 

เปิดไฟให้กับคนตาบอดไม่ควรเปิดประตูกางไว้ในที่ที่มีคนตาบอดเดินผ่าน

  1. มีน้ำใจให้ความช่วยเหลือ ควรเสนอความช่วยเหลือต่อคนตาบอดเวลาข้ามถนนหรือในสถานการณ์ต่างๆ แม้ว่าบางครั้ง คุณจะถูกปฎิเสธไม่ยอมรับความช่วยเหลือก็ตาม
  2. ตาไม่เห็น แต่หูได้ยิน ในการสนทนากับคนตาบอด ควรพูดคุยเหมือนที่กระทำกับคนทั่วไป ไม่ต้องพูดเสียงดังกว่าปกติ หรือพูดผ่านล่ามที่เป็นเพื่อนหรือผู้นำทางของเขา 
  3. คำว่า ‘ตาบอด’ ไม่เป็นไร หากจำเป็นต้องพูดคำที่เกี่ยวกับ 'ตาบอด' หรือ 'มองเห็น' ไม่จำเป็นต้องเลี่ยงไปใช้คำอื่น
  4. ทักทายเพื่อแสดงตัว เมื่อเข้าไปในห้องที่มีคนตาบอดอยู่ แต่ควรบอกชื่อไปเลย หากมีบุคคลเพิ่มขึ้น ควรบอกให้ทราบด้วย
  5. ไม่ต้องไหว้ แต่ทักทายด้วยการสัมผัสมือ การทักทายคนตาบอดทำได้โดยการสัมผัสมือ ซึ่งเป็นการแสดงถึงความยิ้มแย้มแจ่มใสและความเป็นมิตร ไม่ว่าจะเป็นการพบหรืออำลากัน
  6. บอกตำแหน่งเครื่องขยายเสียง ในที่ที่มีการใช้เครื่องขยายเสียง ควรบอกให้คนตาบอดทราบตำแหน่งของผู้พูด เพื่อจะได้หันหน้าไปทางผู้พูดได้ถูกต้องแทนที่จะหันไปตามเสียงที่มาจากลำโพง ซึ่งอาจทำให้คนตาบอดพูดกับลำโพงได้
  7. จากไปให้กล่าวอำลา หลังการสนทนา เมื่อจะจากไปควรบอกให้คนตาบอดทราบ มิฉะนั้น คนตาบอดอาจรู้สึกเก้อเขินที่ต้องพูดอยู่คนเดียว

เมื่อต้องอยู่ร่วมกับคนตาบอด ลองคำนึงถึงหลักดังกล่าวและนำไปปฏิบัติดู แล้วคุณจะพบว่าไม่มีข้อจำกัดใดที่จะกั้นขวางคำว่า ‘มิตรภาพ’ 

ควรพูดทักทายหรือใช้เสียงเพื่อให้ทราบว่ามีคนเข้ามา ไม่ควรถามว่า “ทายซิว่าใคร”

การทักทายคนตาบอดทำได้โดยการสัมผัสมือ

การใช้เครื่องขยายเสียง ควรบอกให้คนตาบอดทราบตำแหน่งของผู้พูด

เมื่อจะจากไปควรบอกให้คนตาบอดทราบ

 

 

เครดิต :