รูปแบบของเบรลล์และการถอดรหัสภาษาเบรลล์
ภาษาเบรลล์มีทั้งหมด 6 ช่อง 2 แถว โดยแถวแรกไล่ลำดับลงล่างเป็น 1 2 3 ส่วนแถวที่สองไล่ลำดับเป็น 4 5 6 จัดเป็น 1 ชุดด้วยกัน
ตัวอย่าง
1 4
2 5
3 6
ตัวอักษร “a” แทนด้วย จุดที่ 1
ตัวอักษร “d” แทนด้วย จุดที่ 1, 4, และ 5
ตัวอักษร “y” แทนด้วย จุดที่ 1, 3, 4, 5 และ 6
เมื่อเติมเต็มทั้ง 6 ช่องจะเรียกว่า “ช่องเต็ม” และหากไม่มีจุด เรียกว่า “ช่องว่าง”
ตัวอักษรภาษาอังกฤษในภาษาเบรลล์ทั้งหมด
A = 1
B = 1, 2
C = 1, 4
D = 1, 4, 5
E = 1, 5
F = 1, 2, 4
G = 1, 2, 4, 5
H = 1, 2, 5
I = 2, 4
J = 2, 4, 5
K = 1, 3
L = 1, 2, 3
M = 1, 3, 4
N = 1, 3, 4, 5
O = 1, 3, 5
P = 1, 2, 3, 4
Q = 1, 2, 3, 4, 5
R = 1, 2, 3, 5
S = 2, 3, 4
T = 2, 3, 4, 5
U = 1, 3, 6
V = 1, 2, 3, 6
W = 2, 4, 5, 6
X = 1, 3, 4, 6
Y = 1, 3, 4, 5, 6
Z = 1, 3, 5, 6
การอ่านตัวเลขในภาษาเบรลล์
วิธีในการอ่านตัวเลขในภาษาเบรลล์ จะใช้การอ้างอิงจากลำดับตัวอักษรของภาษาอังกฤษตั้งต้นโดยเริ่มตั้งแต่ตัว “a” จนถึง “j” เป็นลำดับ ตั้งแต่ 0 ถึง 9
1 = 1
2 = 1, 2
3 = 1, 4
4 = 1, 4, 5
5 = 1, 5
6 = 1, 2, 4
7 = 1, 2, 4, 5
8 = 1, 2, 5
9 = 2, 4
0 = 2, 4, 5
ส่วนการอ่านตัวเลขที่มีจำนวนมาก อย่างเช่น 31,987 จะต้องใช้คอมม่าคั่นคือจุดเดียวเซลล์ที่ 2 ตัวอย่างเช่น (1, 4) (1) (2) (2, 4) (1, 2, 5) (1, 2, 4, 5) = 31,987
กริยาต่าง ๆ ในภาษาเบรลล์
ในการที่จะทำให้อ่านออกมาได้สมบูรณ์แบบจะต้องมีการเติมกริยาต่าง ๆ ลงในคำว่า ใครทำ ใครพูด หรือกำลังทำอะไร ไปทางไหน ได้อย่างถูกต้องเสียก่อน จึงกลายมาเป็นรูปแบบด้านล่างนี้เอง
+ ing = 3, 4, 6 อย่างเช่น (1, 2, 3, 4) (1, 2, 3) (1) (1, 3, 4, 5, 6) + (3, 4, 6) = “Playing”
+ ed = 1, 2, 4, 6 อย่างเช่น (1, 2, 3, 4) (1, 2, 3) (1) (1, 3, 4, 5, 6) + (1, 2, 4, 6) = “Played”
และยังมีการใช้ภาษาเบรลล์อีกรูปแบบหนึ่ง คือการย่อคำจำกัดความเพียงไม่กี่ตัว อย่างเช่นคำว่า could จะเหลือเพียงแค่ c d หรือ (1, 4) (1, 4, 5) และ a b v ที่แปลว่า above ใช้ (1) (1, 2) (1, 2, 3, 6)
หากมีความชำนาญแล้วจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แหล่งที่มา : http://www.brailleintl.org