ประวัติความเป็นมา มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์
- เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2521 ก่อตั้งขึ้นโดย ดร.ประหยัด ภูหนองโอง (ครูตาบอด) เปิดทำการสอน ณ บ้านเช่าครึ่งหลังในซอยธารทิพย์ ถนนประชาสโมสร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2521 มีเด็กตาบอด 13 คน ด้วยเงินบริจาคก้อนแรก 10,000 บาท จากนางโรสลิม ชาวสิงคโปร์ และเตียง จำนวน 12 หลัง จากมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2522 มีการดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการเริ่มต้นขึ้น โดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนชาวจังหวัดขอนแก่น มิชชั่นนารี่ชาวอเมริกาและแคนาดาได้เข้ามาสนับสนุน และได้ดำเนินโครงการเรียนร่วมเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนขอนแก่นคริสเตียน เป็นโรงเรียนเอกชน และที่โรงเรียนสนามบิน ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกในจังหวัดขอนแก่น ได้ส่งเด็กนักเรียนตาบอดกลุ่มแรก จำนวน 2 คน เข้าเรียนร่วม
- พ.ศ. 2523 ที่โรงเรียนสนามบิน ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกในจังหวัดขอนแก่น ครูช่วยเหลือนักเรียนตาบอดเรียนร่วมคนแรกคือ นางธิดารัตน์ ภูหนองโอง
- พ.ศ. 2524 มูลนิธิฯ ได้รับที่ดินบริจาค จำนวน 8.5 ไร่ จาก คุณบุรินทร์ บุริสตระกูล คหบดีชาวขอนแก่นและเงินบริจาคของสมาชิกโบสถ์ ซอย 10 ร่วมกันจัดซื้อที่ดินมอบให้จำนวน 3.5 ไร่ การก่อสร้างได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลแคนาดา องค์การ CBM ประเทศเยอรมัน เพื่อก่อสร้างศูนย์การศึกษาคนตาบอด ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์พัฒนศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น” โดยใช้เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่นในปัจจุบัน
- พ.ศ. 2525 ได้ย้ายจากบ้านเช่าเข้าสู่ที่ทำการใหม่อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และที่ตั้งของโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่นในปัจจุบัน
- พ.ศ. 2526 มูลนิธิฯ ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นทางการ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2526 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการศึกษา ฝึกอบรมอาชีพ ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายของคนตาบอด โดยการสนับสนุนของสโมสรไลออนส์ขอนแก่น ไลออนส์อารีย์ หอวิจิตร นายกสโมสรไลออนส์ขอนแก่น และไลออนส์เนสจิตรา ศรีไสว นายกสโมสรไลออนส์สตรีขอนแก่นในสมัยนั้น ด้วยเงินจดทะเบียนครั้งแรก 101,000 บาท แล้วสโมสรทั้งสองได้บริจาคเงิน 3 แสนบาทเพื่อจัดซื้อบ้านพักให้กับอาสาสมัคร
- พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย เข้าเป็นองค์กรในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2527
- พ.ศ. 2528 มูลนิธิได้จัดกิจกรรมเดินทางไกล “ยังไม่สิ้นซึ่งความหวัง” ของเด็กตาบอด จำนวน 40 คน ชาย 36 คน หญิง 4 คน ระยะทาง 450 กิโลเมตร จากจังหวัดขอนแก่น ถึง กรุงเทพมหานคร มูลนิธิฯ จึงได้รวบรวมเงินบริจาคครั้งนั้นไปจัดตั้งบ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน (เด็กตาบอดซึ่งมีความพิการอื่นร่วมด้วย) และเปิดทำการเมื่อปลายปี 2529 ถือเป็นสำนักงานสาขาที่ 2
- พ.ศ. 2530 มูลนิธิได้ดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพคนตาบอดโดยชุมชน (CBR)
- พ.ศ. 2531 กระทรวงการคลัง ได้ประกาศให้มูลนิธิฯ เป็นสถานสาธารณกุศล อันดับที่ 174 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2531
- พ.ศ.2538 มูลนิธิฯ ได้รับที่ดินบริจาคจำนวน 5 ไร่ จากพระอาจารย์หลวงปู่ศรีมหาวีโร แห่งวัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด และงินบริจาคจากชาวเนเธอร์แลนด์ จำนวน 10 ล้านบาท เพื่อจัดสร้าง “ศูนย์การศึกษาและฟื้นฟูสมรรถภาพคนตาบอด จังหวัดร้อยเอ็ด” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2538
- พ.ศ. 2540 มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับมูลนิธิพิทักษ์ดวงตาลำปาง ได้จัดสร้างศูนย์พัฒนาคนตาบอดลำปาง เพื่อให้บริการด้านต่าง ๆ แก่คนตาบอดภาคเหนือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2540
- พ.ศ. 2542 มูลนิธิฯ ได้ริ่เริ่มจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นที่ จ. ลพบุรี บนที่ดินบริจาค 8.5 ไร่ โดยทายาทนางมานี ( วรพิทยุต ) มินทะขิน และเงินบริจาคของชาวเนเธอร์แลนด์ 5.6 ล้านบาท และทุนของชาวไทยจำนวน 20 ล้านบาทเป็นค่าก่อสร้าง “โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน ลพบุรี” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2545
- พ.ศ. 2546 ชมรมผู้ปกครองนักเรียนตาบอดจังหวัดสงขลา ได้ติดต่อขอให้ อาจารย์ประหยัด ภูหนองโอง ผู้ก่อตั้งมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้มาจัดตั้งสถานศึกษาคนตาบอดในเขตภาคใต้ตอนล่าง ต่อมาในปี 2547 คุณลุงถาวร พงศ์ประยูร และแพทย์หญิงเฉลา พงศ์ประยูร ได้บริจาคที่ดินจำนวน 4 ไร่ ให้มูลนิธิฯ เพื่อนำไปใช้เป็นที่ตั้งสถานศึกษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550
- พ.ศ. 2547 มูลนิธิฯ ได้รับบริจาคที่ดินจำนวน 12 ไร่ จากนางวัชนีย์ อินทจักร เป็นที่ตั้งศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอดขอนแก่น เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มูลนิธิฯ จึงได้ตั้งชื่อว่า ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- พ.ศ. 2550 เริ่มดำเนินการก่อสร้างสถานศึกษาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเจริญพระชนมายุ ครบ 80 พรรษา บนที่ดินบริจาคจำนวน 8 ไร่ จากนายแสวง เอี่ยมองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2552
- พ.ศ. 2552 รับบริจาคที่ดินจากนายสุกิจ นางรจนา รื่นสุข จำนวน 5 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา ตำบลป่าขะ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เพื่อเป็นสถานที่รองรับเด็กและเยาวชนตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อนให้ได้รับการพัฒนาฟื้นฟูสมรรถภาพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2557
- พ.ศ. 2554 รับบริจาคที่ดิน นางกุสุมา บีเค็นน์ (มินทะขิน ) จำนวน 10 ไร่ 62 ตารางวา เพื่อเป็นสถานศึกษาของเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน และจัดตั้งชื่อว่า โรงเรียนการศึกษาเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน ชะอำ”
- พ.ศ. 2556 คณะกรรมการมูลนิธิ มีมติให้จัดตั้งสำนักงานมูลนิธิ สาขาจังหวัดเชียงราย เพื่อจัดตั้ง โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กตาบอดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยนั้น ยังขาดโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเหมือนกับเด็กปกติทั่วไปหรือการที่เด็กตาบอดต้องไปเรียน